Basic Operators
เราสามารถแบ่ง Operator เป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. Arithmetic Operators
2. Relational Operators
3. Bitwise Operators
4. Logical Operators
5. Assignment Operators
6. Misc Operators
1. Arithmetic Operators
Arithmetic Operators ก็คือ Operator ทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร
ตัวอย่างเช่น
Operator | Description | Example |
+ | การบวก | x = 5 + 5 |
- | การลบ | x = 10 - 5 |
* | การคูณ | y = 2 * 2 |
/ | การหาร | y = 4 / 2 |
% | การหารแล้วเอาแต่เศษ | z = 11 % 2 (จะได้ 1) |
++ | การเพิ่มค่าของจำนวนเต็ม 1 | x = x++; |
-- | การลดค่าของจำนวนเต็ม 1 | y = y--; |
2. Relational Operators
Relational Operators ก็คือ Operator ทีเอาไว้เทียบความสัมพันธ์ เช่น เท่ากับ, มากกว่า, น้อยกว่า ซึ่งค่าที่ได้จากการเทียบนี้จะได้ค่า true หรือ false ซึ่งเอาไว้เช็คเงื่อนไข
Operator | Description | Example |
== | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่ามีค่าเท่ากันไหม ถ้าเท่ากันจะได้ค่า true |
(2 == 2) |
!= | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่ามีค่าไม่เท่ากันไหม ถ้าไม่เท่ากันจะได้ค่า true |
(2 != 3) |
> | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่าค่าทางด้านซ้ายมีค่ามากกว่าค่าทางด้านขวาหรือไม่ ถ้าใช่จะได้ค่า true |
(5 > 1) |
< | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่าค่าทางด้านซ้ายมีค่าน้อยกว่าค่าทางด้านขวาหรือไม่ ถ้าใช่จะได้ค่า true |
(1 < 5) |
>= | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่าค่าทางด้านซ้ายมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับค่าทางด้านขวาหรือไม่ ถ้าใช่จะได้ค่า true |
(5 >= 5) |
<= | การตรวจสอบค่าทั้งสองค่าว่าค่าทางด้านซ้ายมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าทางด้านขวาหรือไม่ ถ้าใช่จะได้ค่า true |
(5 <= 5) |
3. Bitwise Operators
Bitwise Operators ก็คือ การกระทำระดับ bit ของตัวแปรโดยมีเงื่อนไขว่า ตัวแปรที่จะนำมาใช้ใน Bitwise Operatos นั้นจะต้องเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม (เช่น byte, short, int, long) หรือเป็นตัวอักษร (char)
โดย Bitwise Operator ยังแบ่งได้อีกเป็น 2 กลุ่ม
3.1 Logical Bitwise Operators ซึ่งจะได้แก่
3.1.1 ~ (bitwise unary NOT)
3.1.2 & (bitwise AND)
3.1.3 | (bitwise OR)
3.1.4 ^ (bitwise EXCLUSIVE OR)
3.1.5 >> (shift right)
3.1.6 >>> (shift right zero fill)
3.1.7 << (shift left)
- ตัวอย่างการทำ Logical Bitwise Operators เช่น
int a = 10; // 0000 1010 <- ค่านี้เกิดจากการใช้คำสั่ง System.out.println(Integer.toBinaryString(a));
int b = 99; // 0110 0011 <- ค่านี้เกิดจากการใช้คำสั่ง System.out.println(Integer.toBinaryString(b));
ใช้กับ Operator OR จะได้ดังนี้
a | b = 0110 1011
ใช้กับ Operator AND จะได้ดังนี้
a & b = 0000 0010
- ตัวอย่างการทำ Logical Bitwise Operators เช่น
int a = 10; // 0000 1010 <- ค่านี้เกิดจากการใช้คำสั่ง System.out.println(Integer.toBinaryString(a));
int b = 99; // 0110 0011 <- ค่านี้เกิดจากการใช้คำสั่ง System.out.println(Integer.toBinaryString(b));
ใช้กับ Operator OR จะได้ดังนี้
a | b = 0110 1011
ใช้กับ Operator AND จะได้ดังนี้
a & b = 0000 0010
ใช้กับ Operator EXCLUSIVE OR จะได้ดังนี้
a ^ b = 0110 1001
ใช้กับ Operator NOT จะได้ดังนี้
~a = 1111 0101
ใช้กับ Operator shift right จะได้ดังนี้
b >> 2 (จะได้ 0001 1000)
ใช้กับ Operator shift right zero fill จะได้ดังนี้
b >>> 2 (จะได้ 0001 1000)
ใช้กับ Operator shift left จะได้ดังนี้
b << 2 (จะได้ 1000 1100)
3.2 Assignment bitwise operators ได้แก่
3.2.1 &= (bitwise AND assignment)
3.2.2 |= (bitwise OR assignment)
3.2.3 ^= (bitwise XOR assignment)
3.2.4 >>= (shift right assignment)
3.2.5 >>>= (shift right zero fill assignment)
3.2.5 <<= (shift left assignment)
- ตัวอย่างการทำ Assignment Bitwise Operators เช่น
- ตัวอย่างการทำ Assignment Bitwise Operators เช่น
a &= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a & 5
a |= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a | 5
a ^= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a ^ 5
a >>= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a >> 5
a >>>= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a >>> 5
a <<= 5 จะมีค่าเหมือนกันกับ a = a << 5
4. Logical Operators
Logical Operators คือการนำ boolean มาทำการ AND, OR หรือ NOT กัน โดยผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะเเป็นเพียงค่า true หรือ false
สมมติว่าได้ประกาศค่าตัวแปรเอาไว้ 2 ตัวเป็นดังนี้
boolean a = true;
boolean b = false;
Assignment Operators เป็น Operators ที่เอาไว้กำหนดค่าให้กับตัวแปร
สมมติว่าได้ประกาศค่าตัวแปรเอาไว้ 2 ตัวเป็นดังนี้
boolean a = true;
boolean b = false;
Operator | Description | Example |
&& | จะเป็นค่า true ก็ต่อเมื่อค่าทั้งสองค่าเป็น true | (a && b) ได้ค่า false |
|| | จะเป็นค่า false ก็ต่อเมื่อค่าทั้งสองค่าเป็น false | (a || b) ได้ค่า true |
! | จะทำการกลับค่าจาก true เป็น false หรือจาก false เป็น true | !a ได้ค่า false |
5. Assignment Operators
Operator | Description | Example |
= | เป็นการกำหนดค่าให้กับตัวแปร | a = 10 |
+= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาบวกเพิ่ม ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a += 10 มีค่าเท่ากับ a = a + 10 |
-= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาลบออก ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a -= 10 มีค่าเท่ากับ a = a - 10 |
*= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาคูณ ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a *= 10 มีค่าเท่ากับ a = a * 10 |
/= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาหาร ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a /= 10 มีค่าเท่ากับ a = a / 10 |
%= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาหารเก็บเศษ ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a %= 10 มีค่าเท่ากับ a = a % 10 |
<<= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาเลื่อนบิตไปทางซ้าย ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a <<= 10 มีค่าเท่ากับ a = a << 10 |
>>= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาเลื่อนบิตไปทางขวา ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a >>= 10 มีค่าเท่ากับ a = a >> 10 |
&= | นำตัวแปรด้านซ้ายมาทำการ AND ระดับบิต ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a &= 10 มีค่าเท่ากับ a = a & 10 |
^= | นำตัวแปรด้านซ้ายมา XOR ระดับบิต ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a ^= 10 มีค่าเท่ากับ a = a ^ 10 |
|= | นำตัวแปรด้านซ้ายมา OR ระดับบิต ก่อนที่จะกำหนดค่าให้ | a |= 10 มีค่าเท่ากับ a = a | 10 |
6. Misc Operators
นอกเหนือจาก Operators ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด ยังมี Operators อื่นๆอีกที่ใช้บ่อยในการเขียน JAVA อย่างเช่น
6.1 Conditional Operator ( ? : )
Conditional Operator เป็น Operator ที่เอาไว้ตรวจสอบเงื่อนไข If Else เช่น ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำอะไร หรือเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำอะไร ตัวอย่างการใช้เช่น
int a = 10;
int b = 3;
a = (b > 1) ? 5 : 15;
จากตัวอย่างที่ให้มาข้างบนนั้น b มีค่าเป็น 3 เมื่อแทนค่าในวงเล็บ จะได้ ( 3 > 1 ) ซึ่งจะได้ค่า true
ดังนั้น a จะถูกกำหนดค่าให้เป็น 5
แต่ถ้าเรากำหนดค่าให้ b = 0
int a = 10;
int b = 0;
a = (b > 1) ? 5 : 15;
เมื่อแทนค่าในวงเล็บจะได้ ( 0 > 1 ) ซึ่งไม่เป็นจริง ทำให้ได้ค่า false เมื่อเป็น false แล้วเงื่อนไขที่จะเลือกจะเป็นตัวด้านหลัง ซึ่งในที่นี้ก็คือ 15 โดย a จะถูกกำหนดค่าเป็น 15
6.2 instanceof Operator
instanceof Operator เป็น Operator ที่ใช้กับตัวแปรที่เป็น Object ได้เท่านั้น โดยจะนำตัวแปร object มาทำการตรวจสอบว่ามีชนิดของ Class หรือ Interface ถูกต้องตามที่ระบุเอาไว้หรือไม่โดยสามารถตรวจสอบการเป็นแม่ลูกได้ด้วย
ตัวอย่างการใช้เช่น
String s = ""; if(s instanceof String){ System.out.println(true); // จะได้ค่านี้เพราะว่า s เป็นตัวแปรชนิด String }else{ System.out.println(false); } if(s instanceof Object){ System.out.println(true); // จะได้ค่านี้เพราะว่า object ทุกๆตัวจะเป็น sub class ของคลาส Object เสมอ }else{ System.out.println(false); }